หนังสือ กิมย้ง ประกอบด้วย


ประกอบด้วย

- จอมใจจอมยุทธ์
- เพ็กฮ้วยเกี่ยม
- มังกรหยก ภาค 1
- จิ้งจอกภูเขาหิมะ
- มังกรหยก ภาค 2
- กระบี่นางพญา
- กระบี่ใจพิสุทธิ์
- แปดเทพอสูรมังกรฟ้า
- มังกรทลายฟ้า
- กระบี่เย้ยยุทธจักร
- อุ้ยเซี่ยวป้อ

- มังกรหยก ภาคพิเศษ ผู้กล้าหาญแห่งแคว้นกังหนำทั้งเจ็ด 1 เล่มจบ
- มังกรหยก ภาคพิเศษ จิวแป๊ะทง 1-2 เล่มจบ
- มังกรหยก ภาคพิเศษ อั้งชิดกง 1-3 เล่มจบ
- มังกรหยก ภาคพิเศษ อึ้งเอี๊ยะซือ 1 เล่มจบ

----------------------------------------------------------------------------------------------------

 จากรูปนี้ จะเป็นหนังสือของกิมย้งทั้งหมด ที่จัดพิมพ์ช่วง ปี 2537 - 2538



หนังสือของกิมย้งเกือบทั้งหมด จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ดอกหญ้า ที่เป็นเรื่องยาว จะมีกล่องด้วย
เกือบครบชุดของกิมย้ง ขาดเพียง จิ้งจอกอหังการ, จิ้งจอกภูเขาหิมะ, กระบี่เย้ยยุทธจักร



จะมีเพียงเล่มเดียวจบ เพียง 2 เรื่อง ที่ไม่มีกล่อง คือ กระบี่นางพญา และ กระบี่ใจพิสุทธิ์



 จอมใจจอมยุทธ์ จัดเป็นหนังสือเรื่องแรกของกิมย้ง
จอมใจจอมยุทธ์และกระบี่นางพญา ซึ่งปัจจุบัน 2563 หาค่อนข้างยาก
เนื่องจากสำนักพิมพ์ที่ตีพิมพ์ผลงานของกิมย้ง ไม่ได้นำสองเรื่องนี้มาพิมพ์ด้วย



กระบี่นางพญา ประกอบด้วย เรื่องสั้น 3 เรื่อง
- กระบี่นางพญา
- ดาบอวงเอียตอ
- เทพธิดาม้าขาว



สำนักพิมพ์สร้างสร้างสรรค์บุ๊คส์ จัดพิมพ์ นางพญาม้าขาว
แปลโดย จำลอง พิศนาคะ
ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกับที่อยู่ในกระบี่นางพญา



กระบี่นางพญา และ กระบี่ใจพิสุทธิ์ แปลโดย น.นพรัตน์ สำนักพิมพ์ดอกหญ้า
เป็นเล่มเดียวจบเพียง 2 เล่ม ของสำนักพิมพ์ดอกหญ้า



เพ็กฮ้วยเกี่ยม แปลโดย น.นพรัตน์ สำนักพิมพ์ดอกหญ้า



มังกรหยก ในประเทศไทย จะมีการแปลทั้งหมด 4 สำนวน
ว. ณ เมืองลุง , จำลอง พิศนาคะ , น.พนรัตน์ , คนบ้านเพ
ตามรูปด้านล่างนี้ ไม่ได้จัดเก็บสำนวนของ คนบ้านเพ



หนังสือมังกรหยก ตามรูปด้านล่างนี้ จัดพิมพ์ช่วงเดียวกัน
ประมาณ ปี 2537-2538 (โดยประมาณ)
ประกอบด้วย 3 สำนักพิมพ์
- สำนักพิมพ์ สร้างสร้างสรรค์บุ๊คส์ แปลโดย จำลอง พิศนาคะ พร้อมกล่อง
  เลือกเก็บพิมพ์นี้ เพราะว่าสันหนังสือ ช่องตัวเลขเป็นสีเขียวเหมือนกันทั้งหมด
  ดูเป็นระเบียบสวยงาม และ คลาสสิค

- สำนักพิมพ์ สยามสปอร์ต แปลโดย น.นพรัตน์ จัดพิมพ์ออกมา 3 ภาค ไม่มีกล่อง
  ไตรภาคมังกรหยก ชุดที่ 1 ก๋วยเจ๋งยอดวีรบุรุษ
  ไตรภาคมังกรหยก ชุดที่ 2 เอี้ยก้วยเจ้าอินทรี
  ไตรภาคมังกรหยก ชุดที่ 3 ดาบมังกรหยก

- สำนักพิมพ์ดอกหญ้า แปลโดย ว. ณ เมืองลุง จัดพิมพ์ออกมา 2 ภาค พร้อมกล่อง
  มังกรเจ้ายุทธจักร
  อินทรีเจ้ายุทธจักร




หน้าปก มังกรหยก ภาค 1 สำนักพิมพ์ สร้างสร้างสรรค์บุ๊คส์
แตกต่างที่ อินทรีแต่ละปก สีไม่เหมือนกัน




หน้าปก มังกรหยก ภาค 2 สำนักพิมพ์ สร้างสร้างสรรค์บุ๊คส์ 
แตกต่างที่ อินทรีแต่ละปก สีไม่เหมือนกัน



หน้าปก มังกรหยก ภาค 3 หรือ ดาบมังกรหยก สำนักพิมพ์ สร้างสร้างสรรค์บุ๊คส์ 
แตกต่างที่ ตัวละครแต่ละปก สีไม่เหมือนกัน




หน้าปก มังกรหยก  ไตรภาคมังกรหยก ชุดที่ 1 ก๋วยเจ๋งยอดวีรบุรุษ
สำนักพิมพ์ สยามสปอร์ต
ใช้เป็นรูปแบบภาพวาด คลาสสิค สวยงาม



หน้าปก มังกรหยก  ไตรภาคมังกรหยก ชุดที่ 2 เอี้ยก้วยเจ้าอินทรี
สำนักพิมพ์ สยามสปอร์ต
ใช้เป็นรูปแบบภาพวาด คลาสสิค สวยงาม



หน้าปก มังกรหยก  ไตรภาคมังกรหยก ชุดที่ 3 ดาบมังกรหยก
สำนักพิมพ์ สยามสปอร์ต
ใช้เป็นรูปแบบภาพวาด คลาสสิค สวยงาม



หน้าปก มังกรหยก ภาค 1 และ ภาค 2
มังกรเจ้ายุทธจักร และ อินทรีเจ้ายุทธจักร
สำนักพิมพ์ ดอกหญ้า



จิ้งจอกอหังการ และ จิ้งจอกภูเข้าหิมะ
แปลโดย น.นพรัตน์
สำนักพิมพ์ปัจจุบัน
จัดพิมพ์ปี 2535 ซึ่งขณะนั้น ถือว่าชุดนี้เป็นชุดที่ออกแบบได้ดีที่สุด



8 เทพ อสูร มังกร ฟ้า แปลโดย น.นพรัตน์ สำนักพิมพ์ดอกหญ้า
ซึ่งเรื่องนี้ สำนักพิมพ์ สร้างสร้างสรรค์บุ๊คส์ ทำไปพิมพ์
แต่ใช้ชื่อว่า มังกรหยก ภาค 4



มังกรทลายฟ้า แปลโดย น.นพรัตน์ สำนักพิมพ์ดอกหญ้า



กระบี่เย้ยยุทธจักร แปลโดย น.นพรัตน์ สำนักพิมพ์สกายบุ๊กส์
ใช้อีกชื่อหนึ่งว่า เดชคัมภีร์เทวดา (ชื่อที่ใช้เป็นชื่อในภาพยนต์)



อุ้ยเซี่ยวป้อ แปลโดย น.นพรัตน์ สำนักพิมพ์ดอกหญ้า
ผลงานยุคหลังของกิมย้ง
ซึ่งเปลี่ยนจากนิยายกำลังภายใน เป็นนิยายในวังหลวง
พระเอกไม่มีกำลังภายใน แต่อาศัยวาทศิลป์ในการเอาตัวรอด
แปลกจากเรื่องอื่นๆ

----------------------------------------------------------------------------------------------------

มังกรหยก ภาคพิเศษ




หน้าปก
ผู้กล้าหาญแห่งแคว้นกังหนำทั้งเจ็ด
หน้าปก
จิวแป๊ะทง
หน้าปก
อึ้งเอี๊ยะซือ



หน้าปก อั้งชิดกง 1-3 เล่มจบ